วันอาทิตย์ที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ประวัติการ DRIFT

ประวัติ

การดริฟท์มีต้นกำเนิดมาจากพวกนักแข่งตามถนนบนภูเขาแถ บชนบทของประเทศญี่ปุ่น เป็นการแข่งบนถนนบนภูเขา (เรียกว่า โทเกะ) จนในที่สุดก็พัฒนามาเป็นรายการแข่งที่ต้องใช้ทุน และการโฆษณาต่าง ๆ ซึ่งได้รับการสนับสนุนและอนุมัติโดยองกรณ์ และจัดแข่งตามสนามแข่งเอกชนต่าง ๆ การดริฟท์ในสหรัฐอเมริกาเริ่มขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1996 ซึ่งเป็นรายการแข่งที่จัด ณ สนามแข่ง Willow Springs, California จัดขึ้นโดย นิตรยสาร Option แต่มันก็ไม่ได้รับความนิยมจนกระทั่งเมื่อปี ค.ศ. 2002 นักดริฟท์ชาวญี่ปุ่นก็ยังคงถือว่าเป็นผู้นำในด้านเทค นิค และการปรับปรุงรถ แต่พวกอเมริกันเองก็พัฒนาตัวเองและตามขึ้นมาอย่างรวด เร็ว
ตามข่าวลือนั้น Keiichi Tsuchiya เมื่อตอนแข่งรถอยู่ และอยู่ในอันดับรั้งท้าย เขาตัดสินใจที่จะเหวี่ยงรถผ่านโค้ง ทำให้เหล่าฝูงชนรู้สึกตกตะลึงและรู้สึกประหลาดใจไปตา ม ๆ กัน ภายหลัง Tsuchiya เรียกมันว่า “การดริฟท์” ในขณะที่นี่อาจไม่ใช่ต้นกำเนิดของมัน แต่มันก็เป็นที่มาของชื่อและการแสดงให้คนอื่นเห็นเป็ นครั้งแรก ในปี ค.ศ. 1977 Keiichi เริ่มต้นอาชีพการแข่งของเค้าด้วยการขับรถหลายคัน ในการแข่งระดับมือสมัครเล่นรายการต่าง ๆ การแข่งในรถที่ไม่ค่อยมีกำลังแบบนี้ค่อนข้างยาก แต่ก็ทำให้ได้ประสบการณ์การเรียนรู้ที่ดี ต่อมา Keiichi ก็มีโอกาสได้ขับรถ Toyota AE86 Sprinter Trueno ซึ่งมีสปอนเซอร์หลักคือ ADVAN ในหลาย ๆ การแข่ง ในขณะที่เข้าโค้งขาลง เขาจะดริฟท์รถของเค้า และทำให้ได้ความเร็วขณะเข้าโค้งมากกว่าคู่แข่งคนอื่น ๆ ของเค้า เทคนิคนี้ ทำให้เค้าได้รับการขนานนามว่าเป็น Drift King ไม่ใช่เพราะอย่างที่หลายคนเข้าใจว่าเค้าเป็นคนแรกที่ ดริฟท์หลาย ๆ เทคนิคซึ่งใช้กันในปัจจุบันในการดริฟท์นั้นถูกพัฒนาข ึ้นโดยเหล่านักแข่งแรลลี่บนทางวิบาก ทางฝุ่น หรือแม้แต่บนหิมะ บนพื้นผิวถนนเช่นนั้น วิธีที่จะเข้าโค้งได้เร็วที่สุดก็คือการสไลด์ณ ปัจจุบันในปัจจุบันนี้ การดริฟท์ได้มีวิวัฒนาการจนกลายเป็นกีฬา ซึ่งนักขับต้องแข่งกันในรถที่มีระบบขับเคลื่อนล้อหลั ง เพื่อสไลด์ให้นานที่สุดเท่าที่จะทำได้ ในการแข่งระดับสูง โดยเฉพาะการแข่ง D1 Grand Prix ในประเทศญี่ปุ่น ในสหราชอาณาจักร และในสหรัฐอเมริกา นักขับสามารถที่จะทำให้รถของเค้าสไลด์อยู่ได้นาน และสไลด์ผ่านโค้งหลาย ๆ โค้งติด ๆ กันได้ การแข่งดริฟท์นั้นไม่ได้ตัดสินจากการที่ดูว่าใช้เวลา เท่าไหร่ในการวิ่งวนครบรอบสนาม แต่ดูจากการเข้าไลน์ มุม ความเร็ว และปัจจัยในการแสดง ไลน์ เกี่ยวกับการเข้าให้ถูกไลน์ ซึ่งโดยปกติจะถูกกำหนดและบอกไว้ก่อนโดยกรรมการ มุม คือมุมของรถในตอนดริฟท์ ยิ่งมากยิ่งดี ความเร็ว คือความเร็วตอนเข้าโค้ง ตอนผ่านโค้ง และตอนออกจากโค้งไปแล้ว ยิ่งเร็วยิ่งดี ปัจจัยการแสดงนั้นขึ้นอยู่กับหลาย ๆ อย่าง เช่น จำนวนของควันยาง รถเฉียดกำแพงมากขนาดไหน มันขึ้นอยู่กับว่าทุกอย่างดู “เจ๋ง” ขนาดไหน ในรอบสุดท้ายของการแข่งมักจะเป็นการแข่งของรถดริฟท์ส องคันซึ่งเรียกเล่น ๆ กันว่า “tsuiso” (การวิ่งไล่กัน) ในภาษาญี่ปุ่น ซึ่งคือการที่รถคันนึงไล่รถอีกคันนึงในสนาม เพื่อพยายามที่จะไล่ให้ทัน หรือแม้แต่แซงรถคันข้างหน้า ในรอบ tsuiso นี้ มันไม่เกี่ยวกับไลน์ในการดริฟท์ แต่ขึ้นอยู่กับว่านักดริฟท์คนไหนดริฟท์ได้น่าตื่นตาต ื่นใจมากกว่ากัน โดยปกติแล้ว รถคันที่นำ จะทำมุมการดริฟท์แบบสุด ๆ แต่ก็ยังหัวชิดโค้งอยู่เพื่อบังกันไม่ให้โดนแซง รถคันที่ตามโดยปกติจะดริฟท์ด้วยมุมที่น้อย ๆ แต่จะใกล้กับคันหน้ามาก ๆ รถไม่จำเป็นต้องตามให้ทัน และในความเป็นจริงแล้วในบางกรณี รถที่ถูกทิ้งในทางตรงหากดริฟท์สวยก็จะชนะในรอบนั้นไป เลย การหมุน การอันเดอร์สเตียร์ หรือการชนกันนั้นจะส่งผลให้ตกรอบนั้นไปเลย

รถที่เหมาะสมที่จะนำมา Drift

รถขับเคลื่อนล้อหลังคันไหนก็ดริฟท์ได้ (แต่จะดีกว่าหากมี limited-slip differential) และรถขับเคลื่อสี่ล้อบางคันก็ดริฟท์ได้ โดยส่วนมากแล้ว จะดริฟท์ด้วยมุมที่น้อยกว่า แต่จะเข้าเร็วกว่า รถที่ใช้แข่งที่ได้รับความนิยมในสหรัฐอเมริกาได้แก่ Nissan 240SX (เป็นเวอร์ชั่นที่ใช้เรียกในสหรัฐอเมริกาและแคนาดา ซึ่งในประเทศญี่ปุ่นก็คือ Nissan Silvia นั่นเอง), Nissan 350Z, Toyota Corolla GT-S, Mazda RX-7 และ Honda S2000 เมื่อเร็ว ๆ นี้ พวกที่ชอบรถผลิตภายในประเทศ (สหรัฐอเมริกา) ก็มาลงแข่งด้วยรถอย่าง Ford Mustang, Pontiac GTO และ Dodge Viper ในประเทศญี่ปุ่นนั้น รถดริฟท์ระดับท๊อปได้แก่พวก S13, S14 และ S15, Toyota AE86 Sprinter Trueno และ Corolla Levin, Nissan Skyline (ตัวขับเคลื่อนล้อหลังอย่าง ER34 ซึ่งเป็นรถ 4 ประตูและในรุ่นก่อนหน้านี้อย่าง HCR32), Mazda RX-7 ทั้งตัว FC และ FD, Toyota Altezza, Toyota Aristo, Nissan Z33 Fairlady Z, Nissan Cefiro, Nissan Laurel, Toyota Soarer และเหล่ารถที่กล่าวมาข้างต้นทั้งหมดและก็ยังมีข้อถกเ ถียงกันอยู่ในเรื่องที่ว่ารถขับเคลื ่อนล้อหน้าดริฟท์ได้หรือไม่ โดยนิยามทางเทคนิคแล้ว (ล้อหลังลื่นไถลในมุมที่มากกว่าล้อหน้า) มันดริฟท์ได้ แต่อย่างไรก็ตาม หลายคนเห็นว่า รถขับเคลื่อนล้อหน้า เป็นตัวเลือกที่ไม่ดีสำหรับการดริฟท์ เพราะการที่ต้องใช้เบรกมือบ่อย (ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับการจะดริฟท์รถขับเคลื่อนล ้อหน้า) ซึ่งทำให้มันวิ่งช้าลงและยากต่อการควบคุม รวมถึงเพราะการที่มันล้อหน้าเพื่อทั้งการเลี้ยวและขั บเคลื่อน การที่รถหลุดจากการควบคุมหลังจากการสไลด์เพียงครั้งเ ดียว ในขณะที่รถขับเคลื่อนล้อหลังสามารถที่จะดริฟท์ผ่านโค ้งที่ต่อเนื่องได้ หากมองกันในมุมนี้ และนี่คือนิยามของการดริฟท์แล้วล่ะก็ รถขับเคลื่อนล้อหน้าไม่สามารถที่จะดริฟท์ได้ ได้แค่การทำพาวเวอร์สไลด์ แต่อย่างไรก็ตาม นักดริฟท์บางคน เช่น Kyle Arai หรือ Keisuke Hatakeyama ใช้รถ Civic EF ในการดริฟท์ และก็ประสบความสำเร็จในการทำเช่นนั้นด้วย บางครั้งก็สามารถเอาชนะคู่แข่งที่เป็นรถขับเคลื่อนล้ อหลังด้วยรถขับเคลื่อน 4 ล้อ เช่น Subaru Impreza WRX STi และ Mitsubishi Lancer Evolution นั้น ดริฟท์ด้วยมุมที่ต่างออกไป และโดยปกติจะทำโดยการ power-over เพราะการที่ล้อหน้าของมันเป็นล้อขับเคลื่อนด้วยในรถข ับเคลื่อน 4 ล้อ จึงเป็นที่สังเกตได้ง่ายว่า มันจะใช้การ counter steer น้อย การแข่ง D1 และ การแข่งระดับมืออาชีพรายการอื่น ๆ ไม่อนุญาตให้รถขับเคลื่อน 4 ล้อลงแข่ง แต่อย่างไรก็ตาม รถอย่าง Impreza และ Lancer ก็ถูกแปลงให้เป็นรถขับเคลื่อนล้อหลังและก็สามารถลงแข ่งในรายการที่ห้ามรถขับเคลื่อน 4 ล้อลงแข่งได้

1 ความคิดเห็น: